ขอบคุณภาพจาก http://hilight.kapook.com/view/71895 |
ในครั้งนี้เรามีเทคนิคการเล่นแบดมินตันที่เราได้รู้มาฝากให้ทุกๆคนได้ลองใช้ดู (เผื่อไปเล่นแข่งกับเพื่อนๆ^^) แต่ก่อนที่จะไปดูเทคนิคการเล่น เราก็ขอแนะนำกีฬานี้ให้เพื่อนๆได้รู้วิธีการเล่นและกติกาการเล่นของกีฬาแบดมินตันแบบคร่าวๆละกันนะคะ :D
แบดมินตัน (อังกฤษ: Badminton) เป็นกีฬาชนิดหนึ่ง ที่ใช้ไม้ตีลูก ลูกสำหรับใช้ตีนั้น เรียกกันมาช้านานว่า "ลูกขนไก่" เพราะสมัยก่อนกีฬานี้ใช้ขนของไก่มาติดกับลูกบอลทรงกลมขนาดเล็ก ปัจจุบันลูกขนไก่ผลิดจากขนเป็ดที่คัดแล้ว ลูกบอลทรงกลมขนาดเล็กที่ทำเป็นหัวลูกขนไก่ทำด้วยไม้คอร์ก
ขอบคุณภาพจาก http://www.thaihealth.or.th/data/content/8037 /cms/8037_thaihealth_cp192ibw8dxg.jpg |
กติกาการเล่นแบดมินตันที่ถูกต้องตามหลักสากล รู้และนำไปใช้ในการเล่นแบตมินตัน
ขอบคุณภาพจาก http://www.muruchi.info/wp-content/uploads/2014/09/1011.jpg |
1. การออกนอกเส้น มีการกำหนดเส้นออกแต่งต่างกันในกรณีเล่นเดี่ยวและเล่นคู่
2. การเสิร์ฟลูก ตามกติกา ที่ถูกต้อง คือ
2.1. หัวไม้ขณะสัมผัสลูกต้องต่ำกว่าข้อมืออย่างเห็นได้ชัด
2.2. หัวไม้ขณะสัมผัสลูกต้องต่ำกว่าเอวอย่างเห็นได้ชัด
2.3. ผู้เล่นต้องไม่ถ่วงเวลา หรือเสริฟช้า หรือเสริฟ 2 จังหวะ การเสริฟ ต้องเสริฟไปด้วยจังหวะเดียว
2.4. ขณะเสิร์ฟ ส่วนใดส่วนหนึ่งของเท้าทั้ง 2 ข้างต้องสัมผัสพื้นตลอดเวลา
2.5. การเสิร์ฟลูกที่ถูกต้อง ต้องให้แร็กเก็ตสัมผัสกับหัวลูกก่อน หากโดนขนก่อนถือว่าผิดกติกา
3. ขณะตีลูกโต้กัน ห้ามนำส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายหรือไม้แบดไปสัมผัสกับเน็ท
4. ห้ามตีลูกที่ฝั่งตรงข้ามโต้กลับมา ในขณะที่ลูกยังไม่ข้ามเน็ทมายังแดนเรา(Over net)
กติกาการนับคะแนนแบตมินตัน
1. แมทช์หนึ่งต้องชนะให้ได้มากที่สุดใน 3 เกม
2. ทุกประเภทของการแข่งขัน ฝ่ายที่ได้ 21 คะแนนก่อนเป็นฝ่ายชนะในเกมนั้น ยกเว้นเมื่อได้ 20 คะแนนเท่ากันต้อง นับต่อให้มีคะแนนห่างกัน 2 คะแนน(การดิวส์) ฝ่ายใดได้คะแนนนำ 2 คะแนนก่อนเป็นผู้ชนะ แต่ไม่เกิน 30 คะแนน หมายความว่าหากการเล่นดำเนินมาจนถึง 29 คะแนนเท่ากัน ฝ่ายใดได้ 30 คะแนนก่อน เป็นผู้ชนะ
3. ฝ่ายชนะเป็นฝ่ายส่งลูกต่อในเกมต่อไป
4. ฝ่ายชนะการเสี่ยงสิทธิ์เป็นฝ่ายส่งลูกได้ก่อน หากฝ่ายตรงข้ามทำลูก "เสีย" หรือลูกไม่ได้อยู่ในการเล่น ผู้เลือกส่งลูกก่อนจะได้คะแนนนำ 1-0 และได้ส่งลูกต่อ แต่หากผู้ส่งลูกทำลูก "เสีย" หรือลูกไม่อยู่ในการเล่น ฝ่ายตรงข้ามจะได้คะแนนตามมาทันทีเป็น 1-1 และฝ่ายตรงข้ามจะได้สิทธิ์ส่งลูกแทน ดำเนินเช่นนี้ต่อไปจนจบเกม
5. ประเภทคู่ให้ส่งลูกฝ่ายละ 1 ครั้ง ตามคะแนนที่ได้ ขณะที่เปลี่ยนฝ่ายส่งลูก หากคะแนนเป็นจำนวนคี่ ผู้อยู่คอร์ดด้านซ้ายเป็นผู้ส่งลูก หากคะแนนเป็นจำนวนคู่ผู้อยู่คอร์ดด้านขวาเป็นฝ่ายส่งลูก
เป็นยังไงกันบ้างคะกับกีฬาแบตมินตัน? เมื่อได้รู้วิธีการเล่นและกติกาแล้ว เราก็มาต่อกันด้วยเทคนิคเล็กๆน้อยๆที่เอาไว้ใช้ในการแข่งขันกันเลยค่ะ เริ่มต้นกันด้วย "ช่องว่าง"ต่างๆที่เกิดขึ้นในแบดมินตัน
ถ้าพูดถึง ”ช่องว่าง” ในกีฬาแบดมินตันแล้ว นักแบดมินตันหลายคนก็คงจะนึกถึงการตีเข้าใส่พื้นที่ว่างในสนามแข่งขันเพื่อให้คู่แข่งขันต้องเคลื่อนที่ไปรับลูก ช่องว่างนี้เป็นช่องว่างที่เห็นได้ชัดที่สุด แต่นั่นไม่ใช่ช่องว่างเพียงช่องเดียวเท่านั้น ถ้าเราสังเกตุให้ดีก็จะพบว่ายังมีช่องว่างอื่น ๆ อีกมากมาย เราอาจแบ่งได้เป็นประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
ขอบคุณภาพจาก https://peesukekung.files.wordpress.com/2011/01/img258926389.jpg |
ช่องว่างนี้เป็นช่องว่างที่เห็นได้ง่ายที่สุด กล่าวง่าย ๆ ก็คือตำแหน่งที่ไกลมือคู่แข่งขันมากที่สุด ช่องว่างนี้จะเกิดขึ้นจากตำแหน่งการยืนของคู่แข่งขัน ถ้าคู่แข่งขันขยับมาข้างหน้า ช่องว่างที่เกิดก็คือพื้นที่ในแดนหลัง ถ้าคู่แข่งขันขยับไปทางซ้าย ช่องว่างก็จะเกิดขึ้นทางขวา การตีเข้าหาช่องว่างจะทำให้คู่แข่งขันต้องขยับตัวเพื่อเข้าหาลูก ถ้าเราตีได้แม่นยำพอ คู่แข่งขันก็จะรับลูกลำบากหรือไม่สามารถตีลูกกลับมาได้
2. ช่องว่างที่เกิดจากการเคลื่อนไหว
ช่องว่างนี้จะเกิดขึ้นเมื่อคู่แข่งขันของเราทำการเคลื่อนไหว เมื่อใดที่คู่แข่งขันเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วไปทางใดทางหนึ่ง ช่องว่างจะเกิดขึ้นโดยทันทีในด้านตรงข้ามกับทางที่คู่แข่งขันเคลื่อนไหวไป การจะตีลูกเข้าหาช่องว่างนี้ต้องใจเย็น เราต้องจับตาดูการเคลื่อนไหวของคู่แข่งขันให้ดี เมื่อคู่แข่งขันออกตัวเคลื่อนไปทางใดทางหนึ่งอย่างรวดเร็ว ให้ตีไปยังตำแหน่งอีกด้านของคู่แข่งขันในทันที แม้เราจะตีไปในตำแหน่งที่ไม่ไกลจากคู่แข่งขันเท่าใดนัก แต่รับรองได้ว่าคู่แข่งขันยากที่จะย้อนกลับมาตีลูกได้ทัน
3. ช่องว่างที่เกิดจากความคิดและความรู้สึก
ช่องว่างนี้คือช่องว่างที่เกิดจากการที่เราตีลูกไปในตำแหน่งที่คู่แข่งขันคาดไม่ถึง ยกตัวอย่างเช่น การหลอกหน้าไม้ว่าจะตีไปทางหนึ่ง แต่กลับพลิกหน้าไม้ตีไปอีกทางหนึ่ง อีกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือการเล่นลูกแบ็คแฮนด์ ถ้าปกติเรามักจะเล่นลูกแบ็คแฮนด์ด้วยการแปะหยอดหน้าเน็ต(เพราะกลัวตีไม่ถึงหลัง) คู่แข่งขันก็มักจะคาดการณ์ว่าเราจะตีแบบนี้ตลอดเมื่อต้องตีด้วยแบ็คแฮนด์ ดังนั้นบางจังหวะเราอาจเปลี่ยนเป็นการตีแบ็คแฮนด์ให้ลูกพุ่งขนานกับพื้นหรือตีโยนไปแดนหลังแทน
4. ช่องว่างที่เกิดจากเทคนิคการเล่น
ช่องว่างนี้ก็คือจุดอ่อนในเทคนิคการเล่นของนักแบดแต่ละคน การโจมตีช่องว่างนี้ถือเป็นอีกกลยุทธหลักที่มักจะใช้ในการแข่งขัน ช่องว่างนี้มีมากมายในวงการแบดมินตันสมัครเล่น ยกตัวอย่างเช่น นักแบดสมัครเล่นมักจะอ่อนแบ็คแฮนด์ บางคนก็มักจะตีไม่ค่อยถึงแดนหลัง หรือบางคนก็มีปัญหาเรื่องการเล่นลูกหน้าเน็ต เป็นต้น
การป้องกันช่องว่างของตนเอง
การโจมตีใส่ช่องว่างของคู่แข่งขันสามารถทำให้เราได้รับชัยชนะฉันใด ถ้าคู่แข่งขันหาช่องว่างของเราเจอ เราก็อาจพ่ายแพ้ได้ฉันนั้น ดังนั้นเราจึงต้องเรียนรู้วิธีป้องกันช่องว่างของเราเองด้วย
1. การป้องกันช่องว่างที่เกิดจากตำแหน่งการยืน
หลังจากที่ตีลูกในแต่ละครั้ง ให้รีบวิ่งเข้าสู่ตำแหน่งการยืนที่เหมาะสม เป็นไปได้ให้คิดล่วงหน้าตั้งแต่ก่อนที่จะตีลูกก็จะดี เพราะจะได้มีเวลาในการเคลื่อนไหวมากขึ้น การจะเคลื่อนไหวได้รวดเร็วจำเป็นต้องมีการก้าวเท้าที่ถูกต้อง ดังนั้นการฝึกวิ่งคอร์ทก็จะช่วยลดช่องว่างที่เกิดจากตำแหน่งการยืนได้เช่นกัน
2. การป้องกันช่องว่างที่เกิดจากการเคลื่อนไหว
การเคลื่อนไหวต้องทันท่วงที อย่าเคลื่อนไหวในขณะที่คู่แข่งขันกำลังจะตีลูก ในจังหวะที่คู่แข่งขันจะตีลูก เท้าทั้งสองของเราควรจะหยุดอยู่กับที่ในตำแหน่งการยืนที่เหมาะสม รอจนกระทั่งคู่แข่งขันตีลูกถึงค่อยเคลื่อนตัว
3. การป้องกันช่องว่างที่เกิดจากความคิดและความรู้สึก
อย่างแรกที่ต้องทำคือการยืนในตำแหน่งที่เหมาะสม หลังจากนั้นก็ต้องมีสมาธิ คอยจับตาดูการตีลูกของคู่แข่งขันให้ดี การป้องกันช่องว่างนี้ยังต้องอาศัยประสบการณ์ด้วยเช่นกัน ถ้าเราฝึกตีแบดบ่อย ๆ ช่องว่างนี้ก็มีโอกาสที่จะเกิดได้ยาก
4. การป้องกันช่องว่างที่เกิดจากเทคนิคการเล่น
ต้องหมั่นฝึกฝนเทคนิคการเล่นแบดมินตันทุกอย่างให้สมบูรณ์แบบ ไม่ว่าจะเป็นลูกตบ,ลูกแย็บ,ลูกดาด,ลูกหยอด ฯลฯ ก็ต้องขยันฝึกฝนเพื่อกลบช่องว่างตรงนี้ให้ได้ แต่ยังไงก็ตามแต่ สำหรับนักแบดสมัครเล่นก็คงยากที่จะมีเทคนิคการตีที่สมบูรณ์แบบ ดังนั้นเราจึงต้องอาศัยการยืนตำแหน่งเพื่อลดช่องว่างนี้ด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณอ่อนแบ็คแฮนด์ ตำแหน่งการยืนของคุณก็ควรจะยืนให้เยื้องไปทางซ้ายมือ(หมายถึงนักแบดที่ถนัดขวา) ส่วนถ้าคุณกลัวลูกตัดหยอด คุณก็อาจจะยืนตำแหน่งให้เยื้องไปข้างหน้ามากซักหน่อย ยืนเยื้องมาทางซ้ายจะได้ใช้โฟร์แฮนด์เพื่อปิดช่องว่างที่เกิดจากแบ็คแฮนด์
ถึงแม้ว่าเราจะระมัดระวังอย่างเต็มที่แค่ไหนก็ตาม แต่ก็เป็นไปไม่ได้เลยที่จะไม่เกิดช่องว่างขึ้น แต่จงจำไว้ว่า ยิ่งเราสามารถทำให้โอกาสที่จะเกิดช่องว่างน้อยลงไปมากเท่าใด โอกาสที่เราจะได้รับชัยชนะในการแข่งขันก็ยิ่งสูงมากขึ้นด้วยเช่นกัน
นี่คือส่วนหนึ่งของเทคนิคที่เราแอบเอามาใช้บ่อยๆ แต่เราคิดว่ายังมีเทคนิคในการเล่นแบดมินตันอีกมากมาย หากใครมีเทคนิคยังไงนอกจากนี้ ก็มาแลกเปลี่ยนกับเราได้นะคะ
สุดท้ายเราขอฝากบอกกับทุกๆคนที่เข้ามาอ่านว่า "กีฬาเป็นยาวิเศษค่ะ" 55+ ไม่มีอะไรมาก ออกกำลังกายอย่างพอดี = ร่างกายแข็งแรง + หุ่นเฟิร์มนะคะ :) แล้วพบกันใหม่ค่ะ Bye...
ขอบคุณภาพจาก http://i.bug-a-boo.tv/images/b689983bed765d7c68e9cc00ceca2aab/1.jpg |
1. การป้องกันช่องว่างที่เกิดจากตำแหน่งการยืน
หลังจากที่ตีลูกในแต่ละครั้ง ให้รีบวิ่งเข้าสู่ตำแหน่งการยืนที่เหมาะสม เป็นไปได้ให้คิดล่วงหน้าตั้งแต่ก่อนที่จะตีลูกก็จะดี เพราะจะได้มีเวลาในการเคลื่อนไหวมากขึ้น การจะเคลื่อนไหวได้รวดเร็วจำเป็นต้องมีการก้าวเท้าที่ถูกต้อง ดังนั้นการฝึกวิ่งคอร์ทก็จะช่วยลดช่องว่างที่เกิดจากตำแหน่งการยืนได้เช่นกัน
2. การป้องกันช่องว่างที่เกิดจากการเคลื่อนไหว
การเคลื่อนไหวต้องทันท่วงที อย่าเคลื่อนไหวในขณะที่คู่แข่งขันกำลังจะตีลูก ในจังหวะที่คู่แข่งขันจะตีลูก เท้าทั้งสองของเราควรจะหยุดอยู่กับที่ในตำแหน่งการยืนที่เหมาะสม รอจนกระทั่งคู่แข่งขันตีลูกถึงค่อยเคลื่อนตัว
3. การป้องกันช่องว่างที่เกิดจากความคิดและความรู้สึก
อย่างแรกที่ต้องทำคือการยืนในตำแหน่งที่เหมาะสม หลังจากนั้นก็ต้องมีสมาธิ คอยจับตาดูการตีลูกของคู่แข่งขันให้ดี การป้องกันช่องว่างนี้ยังต้องอาศัยประสบการณ์ด้วยเช่นกัน ถ้าเราฝึกตีแบดบ่อย ๆ ช่องว่างนี้ก็มีโอกาสที่จะเกิดได้ยาก
4. การป้องกันช่องว่างที่เกิดจากเทคนิคการเล่น
ต้องหมั่นฝึกฝนเทคนิคการเล่นแบดมินตันทุกอย่างให้สมบูรณ์แบบ ไม่ว่าจะเป็นลูกตบ,ลูกแย็บ,ลูกดาด,ลูกหยอด ฯลฯ ก็ต้องขยันฝึกฝนเพื่อกลบช่องว่างตรงนี้ให้ได้ แต่ยังไงก็ตามแต่ สำหรับนักแบดสมัครเล่นก็คงยากที่จะมีเทคนิคการตีที่สมบูรณ์แบบ ดังนั้นเราจึงต้องอาศัยการยืนตำแหน่งเพื่อลดช่องว่างนี้ด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณอ่อนแบ็คแฮนด์ ตำแหน่งการยืนของคุณก็ควรจะยืนให้เยื้องไปทางซ้ายมือ(หมายถึงนักแบดที่ถนัดขวา) ส่วนถ้าคุณกลัวลูกตัดหยอด คุณก็อาจจะยืนตำแหน่งให้เยื้องไปข้างหน้ามากซักหน่อย ยืนเยื้องมาทางซ้ายจะได้ใช้โฟร์แฮนด์เพื่อปิดช่องว่างที่เกิดจากแบ็คแฮนด์
ถึงแม้ว่าเราจะระมัดระวังอย่างเต็มที่แค่ไหนก็ตาม แต่ก็เป็นไปไม่ได้เลยที่จะไม่เกิดช่องว่างขึ้น แต่จงจำไว้ว่า ยิ่งเราสามารถทำให้โอกาสที่จะเกิดช่องว่างน้อยลงไปมากเท่าใด โอกาสที่เราจะได้รับชัยชนะในการแข่งขันก็ยิ่งสูงมากขึ้นด้วยเช่นกัน
ขอบคุณภาพจาก http://www.teebadgun.com/uploads/contents/33/53a9586 c9c432.jpg |
สุดท้ายเราขอฝากบอกกับทุกๆคนที่เข้ามาอ่านว่า "กีฬาเป็นยาวิเศษค่ะ" 55+ ไม่มีอะไรมาก ออกกำลังกายอย่างพอดี = ร่างกายแข็งแรง + หุ่นเฟิร์มนะคะ :) แล้วพบกันใหม่ค่ะ Bye...
b y บ า ย เ อ็ ม จี
อ้างอิง :
http://www.badmintoncn.com/Article/b/200610/Article_20061017210309.html
http://www.bloggang.com/m/viewdiary.php?id=zeng&month=12-2008&date=09&group=18&gblog=11
http://guru.sanook.com/8125/
http://th.m.wikipedia.org/wiki/แบดมินตัน
http://www.badmintoncn.com/Article/b/200610/Article_20061017210309.html
http://www.bloggang.com/m/viewdiary.php?id=zeng&month=12-2008&date=09&group=18&gblog=11
http://guru.sanook.com/8125/
http://th.m.wikipedia.org/wiki/แบดมินตัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น